Work in Progress
เผื่อว่าคุณหลงเข้ามา
เผื่อว่าคุณหลงเข้ามา
หลายคนที่รู้จักกัน คงทราบดีว่าอรได้ร่วมก่อตั้ง Content Shifu ปลุกปั้นอย่างตั้งอกตั้งใจ และใช้ชื่อนี้เป็นนามสกุลในวงการมานานถึง 6 ปีแล้ว แต่ในตอนนี้เส้นทางนี้ก็ได้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้ค่ะ (18 ก.ค. 2022) โดยอรได้ลาออกจากการเป็นกรรมการ ออกจากการเป็นหุ้นส่วน และทุกบทบาทของ Content Shifu (รวมถึง Magnetolabs) และเป็นอันมีผลเรียบร้อยแล้ว ธุรกิจจะยังดำเนินต่อไปปกติค่ะ อันที่จริง Content Shifu เติบโตขึ้นทุกปีมาตลอด การออกของอรเป็นเพียงเหตุผลส่วนตัวและการเขียนบล็อกนี้ก็คงไม่ได้อยากเน้นเนื้อหาเชิงธุรกิจ แต่อยากมาเขียนเป็นบันทึกความทรงจำครั้งสำคัญมากกว่า มีเพื่อนๆ หลายคนถามอรว่า “เสียดายไหม” แน่นอนว่าก็ต้องมีเสียดายอยู่แล้ว คงคิดถึงทีม พาร์ทเนอร์ต่างๆ ลูกค้า และผู้สนับสนุนทุกคนน่าดู อันที่จริงอรมีความทรงจำดีๆ เกิดขึ้นหลายเรื่อง และที่ทำงานอยู่มายาวนานเท่านี้ได้ ก็เพราะแรงสนับสนุนจากทุกๆ คนจริงๆ ค่ะ … 6 ปีนี่จะว่าไปก็เป็นระยะเวลาที่นานใช้ได้เลยนะ ระยะเวลาพอดิบพอดีต่อการเปลี่ยนแปลง และการเติบโตในช่วงสำคัญต่างๆ ในชีวิต….จากเด็ก ป.6 กลายเป็นเด็ก ม.6 / และจากอร วัย 23- 24 ในวันนั้น สู่อร ในวัย 29 ย่าง 30 ในวันนี้ มีเหตุการณ์ ความทรงจำ และบทเรียนต่างๆ เกิดขึ้นเยอะมาก ในวาระโอกาสสุดท้ายนี้ อรจึงอยากเขียนบล็อกนี้เพื่อบันทึกสิ่งที่เป็นความทรงจำสำคัญๆ ในเส้นทางที่ผ่านมา…และหวังว่าเรื่องราวและบทเรียนเหล่านี้ จะมีประโยชน์กับคนอ่านที่ได้แวะเวียนเข้ามาค่ะ...
คุณคิดว่าพลังอำนาจคืออะไร? เกิดมาแล้วมีเลย หรือว่าเราสามารถสร้างมันขึ้นมาเองได้ไหม? ความเชื่อของคำว่า Power ที่ใครๆ ต่างก็เข้าใจกันมา เรามักจะมองว่านั่นคือบุคคลหรือสถาบันใดๆ ก็ตามที่สามารถเป็นผู้คุมกฏ หากควบคุมผู้อื่นได้ นั่นหมายถึงเขาคือผู้ที่มีพลังอำนาจ ล่าสุดเราได้มีโอกาสหยิบหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า New Power: How it’s changing the 21st century - And what you need to know ซึ่งชวนคนอ่านมาดู Case Studies ของ Power รูปแบบใหม่ ในยุคที่โลกเชื่อมต่อกันนี้ Ousiders หรือคนนอก กลับมีอำนาจมากขึ้น ไม่ใช่การกุมอำนาจในแบบที่หนังสือเล่มนี้เรียกว่า Old Power ในยุคก่อนๆ ตัวอย่างกรณี New Power ในต่างประเทศที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ ก็อย่างเช่นกระแสเรื่อง Black Lives Matter นอกจากนี้ในหนังสือยังมีการรวบรวม Case studies ของธุรกิจและแคมเปญต่างๆ เอาไว้ หลายเคส แต่ทั้งนี้เท่าที่เราได้อ่านมา เราคิดว่าไม่ใช่ทุกเคสในหนังสือที่เราคิดว่าอ่านแล้วเข้าใจง่าย ก็เลยอยากจะขอเล่าถึง New Power โดยเลือกหยิบเคสที่ส่วนตัวคิดว่าเข้าใจง่ายมากที่สุด เคสที่ว่านี้คือเคสของ แอปเรียกรถโดยสารระหว่าง Uber กับ Lyft ซึ่งแข่งขันกันดุเดือดที่อเมริกา การแข่งขันระหว่าง Uber และ Lyft Uber และ Lyft ต่างก็เป็นแอปพลิเคชันสำหรับใช้เรียกรถโดยสารทั้งคู่ สิ่งที่ทั้งสองเจ้าทำเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเองก็คือ การแข่งขันกันหา Users ทั้งสองฝั่ง ทั้งฝั่ง “คนขับรถ” และฝั่ง “ผู้โดยสาร” ให้มาใช้ระบบของตัวเองกันเยอะๆ...
บทความนี้น่าจะเหมาะกับคนที่สนใจสายการศึกษา เพราะจะมารีวิวเกี่ยวกับการสอบ Certificate ตัวหนึ่งของ Google ชื่อว่า Google Certified Educator ที่อรเพิ่งได้สอบมา สำหรับคนในทำงานในวงการการศึกษา และมีการใช้ Digital tools ในการเรียนการสอน ตัว Certificate นี้ก็เป็นอีกตัวหนึ่งที่ไปลองสอบกันได้ค่ะ Google Certified Educator คืออะไร Google Certified Educator นี้ ถ้าให้อรแปลเป็นภาษาไทย คงแปลว่า บุคคลที่ทาง Google รับรองว่ามีความเข้าใจและสามารถใช้ Digital tools เพื่อเอามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ซึ่ง Digital tools ในที่นี้ตอนทำการสอบเขาก็จะเน้น Tools ของ Google เองนี่แหละค่ะ อย่างที่ทราบกันดีว่าโปรดักส์ของ Google สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ซึ่งก็ไม่เว้นกับวงการการศึกษา ทาง Google ก็เลยมีนำเสนอโปรดักส์ของตัวเอง มัดรวมเป็น Solutions เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ เรียกว่า Google for Education ประโยชน์ของ Google Certified Educator บอกตามตรงว่าถ้าเป็น Certificate ตัว Educator นี้ อรคิดว่าตัวประโยชน์มันก็ยังไม่ได้เด่นชัดซักเท่าไรค่ะ ฮ่า หลักๆ แล้วมีไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเฉยๆ แต่มันจะมีตัว Certification ของ Google ที่มี Benefits ออกมาให้เห็นชัดมากกว่า เป็นตัวที่เป็น Next step ต่อจากตัวนี้ เรียกว่า Google Certified Trainer กับ Google Certified Innovator ค่ะ Cert เหล่านี้เป็นบุคคลที่สามารถเป็น Trainer ให้กับเหล่า Educator อีกทีได้ (อาจารย์ของอาจารย์ว่างั้น) ซึ่งก่อนจะสอบ Cert เหล่านี้ได้ Requirements พื้นฐานคือเราต้องมี Google Certified Educator ก่อนนั่นเองค่ะ...
23 มกราคม 2562…หนังสือเล่มแรกในชีวิตของเรา ชื่อว่า Inbound Marketing การตลาดแบบแรงดึงดูด เสร็จจากโรงพิมพ์เมื่อช่วงเช้า บทความนี้เราเขียนขึ้นครั้งแรกในตอนนั้น เพื่อแชร์เบื้องหลังการเขียนหนังสือ โดยบางส่วนในบล็อกได้รับการอัปเดตเนื้อหาเพิ่มเติมภายหลังเพื่อแชร์มุมมองหลังเขียนมาแล้วซักพักหนึ่งด้วย 7 เรื่องเบื้องหลังการเขียนหนังสือ Inbound Marketing 1. ทำไมถึงเขียนหนังสือ Inbound อย่างที่ทุกคนทราบกันดีคือเราเขียนบทความสอน Inbound Marketing มาอย่างยาวนานแล้ว นับตั้งแต่เปิดตัวเว็บ Content Shifu เมื่อปี 2016 และบทความแรกที่สอนคอนเซปต์นี้นั้นเราเป็นคนเขียนเอง รวมถึงเขียนเวอร์ชันอัปเดตมาตลอดหลายปี Inbound เกี่ยวข้องกับการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ เพื่อดึงดูดคนที่ใช่ ที่สนใจอะไรเหมือนกันเข้ามาทำความรู้จักกันมากขึ้น เราและ Content Shifu อยากสาธิตให้ทุกคนได้เห็นว่าการทำ Inbound Marketing ไม่จำเป็นต้องเป็นการตลาดออนไลน์อย่างเดียวเสมอไป การทำออฟไลน์ก็สามารถนำมาสู่ Inbound Marketing ได้ เช่น การจัดอีเวนต์หรือการไปพูดที่งานอีเวนต์หรือ Community ต่างๆ รวมถึงการเขียนหนังสือก็ด้วย แม้จะชอบและทำการเขียนออนไลน์เป็นหลัก แต่เราเชื่อในพลังของหนังสือ การได้หยิบมันขึ้นมา ได้พลิกหน้าอ่าน มันได้ดื่มด่ำกับตัวหนังสือ และก่อให้เกิดความผูกพันมากขึ้น เราเชื่ออย่างนั้น หนังสือไม่ใช่คอนเทนต์ฟรีเหมือนอย่างบทความออนไลน์ ดังนั้นการที่มีคนซื้อหนังสือของคุณนั่นเป็นนิมิตรหมายที่ดีว่าเขาสนใจในเนื้อหาเรื่องนั้น จริงๆ «1-year update» อัปเดตเพิ่มเติมคือหลังจากที่เราเปิดตัวหนังสือไปได้หนึ่งปี กระแสตอบรับดีมาก และเห็นผลจริงๆ ว่ามีคนรู้จักเราและบริษัทมากขึ้นผ่านหนังสือ รวมถึงหลายๆ ท่านก็ convert ว่าเป็นลูกค้าจริงของบริษัทด้วย...
Wreck it Ralph เป็นหนังการ์ตูนแอนิเมชันในค่ายดิสนีย์ โดยภาคที่เราจะมารีวิวบทเรียนในครั้งนี้คือภาคสอง ที่มีชื่อภาคว่า Ralph Breaks The Internet (ราล์ฟตะลุยโลกอินเทอร์เน็ต)ในชีวิตนี้เคยดูหนังการ์ตูนมาหลายเรื่อง แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่พอดูจบแล้ว หัวสมองก็พาย้อนถึงบทเรียนชีวิตสำคัญๆ หลายเรื่องที่เราได้เรียนรู้ตอนเป็นผู้ใหญ่ อันที่จริงในความเห็นของเรา หนังเรื่องนี้เหมาะกับผู้ใหญ่มากกว่าเด็กซะอีก เพราะเด็กดูแล้วน่าจะได้แต่ความสนุก แต่ผู้ใหญ่อย่างเรา ดูแล้วได้สะท้อนชีวิตเยอะเลย Good to know: บล็อกนี้เหมาะที่สุดสำหรับคนที่ดูหนังเรื่องนี้มาแล้ว แต่ถ้าคุณยังไม่ได้ดู ก็ขอบอกล่วงหน้าก่อนว่าเนื้อหาที่เราเขียนมันก็จะแอบสปอยล์เรื่องในหนังอยู่บ้างพอสมควร ถ้าคุณไม่ซีเรียสกับการอ่านสปอยล์ก่อน ก็เชิญอ่านต่อได้ค่ะ 🙂 Ralph Breaks The Internet กับ 5 บทเรียนชีวิตที่สะท้อนในหนัง 5 เรื่องที่มันแว่บเข้ามาในหัวอร หลังจากที่ดูหนังจบ ได้แก่ 1. คนที่ต้องการความสุขพื้นฐาน กับคนที่ต้องการความท้าทาย…คนสองกลุ่มที่คุณจะได้เจอในโลกความเป็นจริง ในชีวิตสมัยเรียน ปกติแล้วเรามักจะแยกเด็กออกเป็นไม่กี่ประเภท เด็กเรียน เด็กกิจกรรม เด็กมีวินัย เด็กเกเร เป็นต้น แต่หลังจากที่เราใช้ชีวิตทำงานมาซักพัก เราได้พบเจอกับคนที่หลากหลาย แต่เชื่อไหมว่าในความหลากหลายนั้นเอง ถ้าพูดถึงการแบ่งประเภทเรื่องงานจริงๆ แล้วเราพบว่าเราสามารถแบ่งคนทำงานออกเป็นได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ผู้หลงใหลในความสุข ความสบายกายสบายใจ ผู้หลงใหลในความก้าวหน้าและความทะเยอทะยาน คนกลุ่มแรก อาจเรียกได้ว่าเป็นคนมีความพอเพียงในตัวเอง หากพูดถึงเรื่องงาน …เขาโอเคกับงานที่ทำอยู่เหมือนเดิมในทุกๆ วัน ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบในทุกๆ วัน และไม่คิดที่อยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิตแล้ว ซึ่งในหนังเรื่องนี้ ‘ราล์ฟ’ คือตัวแทนของคนกลุ่มนี้...
พูดถึง สังคมออนไลน์ สายบิวตี้ คงจะไม่มีใครไม่รู้จักชื่อของ Jeban.com วันนี้เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้มาฟังพี่จีน ผู้ก่อตั้ง Jeban แชร์เกี่ยวกับเรื่องการสร้างสังคมออนไลน์ หรือ Online Community เป็นเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงเต็มๆ และเราก็เก็บสาระมาฝากกันในบล็อกนี้ค่ะ วิธีสร้างสังคมออนไลน์ฉบับ Jeban อรขอสรุป Key บทเรียนสำคัญมาให้ทุกคนได้อ่านกันง่ายๆ ประกอบไปด้วยเทคนิค 3 ข้อ 1. แตกหน่อคอมมูนิตี้ สิ่งที่ Jeban ทำในช่วงปีหลังๆ มานี้ ไม่ใช่การพยายามทำทุกอย่างภายใต้ชื่อแบรนด์หลักอย่าง Jeban.com เพียงอย่างเดียว แต่มีทิศทางการทำเพจ ทำกรุ๊ป แตกหน่อ Jeban ใหญ่ ออกเป็น Community ย่อยๆ ที่นับวันก็ยิ่ง Niche มากขึ้นเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค Moderator ของงานอย่าง พี่เก่ง พี่โจ้ ถามคำถามเดียวกันกับที่เราสงสัยคือ ทำไมต้องแตกหลายๆ อัน ทำอันเดียวให้เข้มแข็งสุดๆ ไปเลยไม่ดีกว่าหรอ? จากประสบการณ์ของพี่จีน กลยุทธ์การแตก Community ย่อยๆ ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า สร้าง Traffic และ Fan ให้กับ Jeban ได้มากกว่าการเป็นเว็บเดียวแต่พยายามพูดหลายเรื่อง เพิ่งรู้ว่าทุกวันนี้ Jeban มีเพจและกลุ่มย่อยๆ ที่หลากหลาย ไม่ได้มีแต่เรื่องความสวยความงามอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของ Lifestyle ที่หลากหลายของผู้หญิงแทน เช่น กลุ่มขายไตไปเกาหลี (สำหรับคนชอบเกาหลี) เพจ Jeban Arrival สำหรับรีวิวของออกใหม่โดยเฉพาะ สำหรับคนอยากตามข่าวสินค้า ไม่ได้สนใจดูคนอื่นรีวิว กลุ่มกินกรุงเทพ เป็นต้น...
ตลอดสามสี่ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่เราใช้ชีวิตอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ เราเหมือนคนที่ขับรถแล้วเร่งสปีดได้อย่างเต็มที่ และสามารถไปได้ไกลค่อนข้างตรงกับความคาดหวังที่ตั้งใจ เหมือนกับว่าถนนที่เราขับอยู่นั้นค่อนข้างโล่งและเรียบเสมอกันตลอดสาย กระทั่งประมาณช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมานี้ เราพบว่าตัวเองเจออะไรที่ติดขัดมากขึ้น คล้ายๆ กับว่าเจอถนนที่เริ่มขรุขระ จนทำให้ต้องจำกัดความเร็ว นำมาสู่ความคิดแวบๆ เข้ามาว่า "หรือนี่จะเป็นช่วงคราวเคราะห์ของเรา?" ช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาของเรา เป็นช่วงอายุ 25 เข้าอายุ 26 ของเรา ตามตำรับคนไทยแล้ว ก็มักเรียกได้ว่าเป็นช่วง ‘เบญจเพส’ จากเดิมที่ไม่เคยสนใจเรื่องความเชื่อมาก่อนเลย ก็พาลเอาให้เริ่มสนใจศึกษามากยิ่งขึ้น เราเขียนบทความนี้โดยมีความตั้งใจสองเรื่อง… หนึ่งคืออยากลองสรุปข้อมูลเกี่ยวกับคำว่า ‘เบญจเพส’ ของไทยว่ามีความหมายอะไรบ้าง รวมถึงการค้นคว้าถึงเบญจเพสของต่างประเทศ ซึ่งทำให้เราค้นพบกับอีกคำที่ชื่อว่า 'Quarter-Life Crisis' และอยากลองมาเล่าให้ฟัง สองคือการแชร์ประสบการณ์ส่วนตัว การพยายามเข้าใจสถานการณ์ และการปรับตัวของเราเอง เบญจเพส คืออะไร (กันแน่นะ) เบญจเพส คือความเชื่อที่ว่า ช่วงอายุ 25 ปี จะเป็นช่วงวัยที่อาจมีเคราะห์ หรือมีเหตุสำคัญในชีวิต « จากที่อ่านมาทั้งหลายส่วนใหญ่จะเทกันให้นิยามในลักษณะนี้ โดยบ้างก็ระบุว่า คำว่า เบญจเพส นั้นแปลว่า "ยี่สิบห้า" เป็นคำที่แผลงจากศัพท์ภาษาบาลี-สันสกฤต (อ้างอิงจาก Wikipedia) บางคนก็บอกว่าจะไม่ได้เกิดแค่กับช่วง 25 อย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึง 35, 45, 55 บ้างก็บอกเป็นอีกแนวเลย คือ ‘เบญจเพส’ มีที่มาจากคำว่า เบญจขันธ์ + อาเพศ (อ้างอิงจากบทความใน dailynews) โดย อาเพศ หมายถึงความแปรปรวนผิดปกติ ส่วนเบญจขันธ์ คือ ขันธ์ 5 หมายถึง ตัวตนของเราที่ประกอบขึ้นด้วย รูปธรรมหรือร่างกาย 1 ส่วน และส่วนที่เป็นนามธรรมอีก 4 ส่วน ได้แก่ อารมณ์ทุกข์สุขเศร้าหมอง ความจำได้หมายรู้ ความคิดอ่านตอบสนอง การปรุงแต่งแล้วเสื่อมถดถอย จึงกล่าวได้ว่าเป็นสภาวะความแปรปรวนหรือช่วงเคราะห์ร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิต โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเลข 25 แต่อย่างใด (ในบทความนั้นระบุว่าตัวเลขอายุที่จะเกิดเบญจเพส จะขึ้นอยู่กับวันเกิดในสัปดาห์ ซึ่งในเคสนี้เราเองก็ยังไม่แน่ใจซักทีเดียว)...
…งานในปัจจุบันของอร คือการเป็นผู้จัดการ เมื่อวันที่เราต้องถือบทบาทผู้จัดการและผู้ประกอบการ เราพบว่ามีสิ่งที่เราต้องเรียนรู้เยอะมาก เยอะมากจนกองเป็นภูเขาเลากา แน่นอนว่าเรื่องของ Management และ Leadership Skills อยู่ในภูเขากองนั้นด้วย และด้วยความที่อยู่ในสายงานดิจิทัล ก็จะมีเรื่อง Hard Skills ในสายงานอยู่ในภูเขากองนั้นด้วยเช่นกัน แต่มีอยู่อีกเรื่องหนึ่งที่เราหยิบใส่ในตารางเรียนรู้ของเราด้วยเช่นกัน นั่นคือเรื่อง ’Design’ …หือ Design? ดีไซน์เนี่ยนะ? คุณคงนึกแปลกใจว่า การเป็นผู้จัดการมันเกี่ยวอะไรกับดีไซน์ ดีไซน์เป็นงานของดีไซเนอร์หนิ? และเราก็ควร ”Put the right man on the right job” ไม่ใช่หรอ …แต่เราก็ยังอยากขอยืนยันคำเดิมอยู่ว่าเราพูดถึง Design จริงๆ ค่ะ โดยเหตุผลหลักๆ เราขอแตกออกมาเป็นสองเรื่องใหญ่ๆ ดังนี้ ดีไซน์มีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจยุคใหม่ ในยุคที่ร้านกาแฟแต่ละร้านแทบจะไม่ต่างกัน สบู่แชมพูยาสีฟัน ฯลฯ ทุกๆ อย่างแทบจะไม่ต่างกัน หากมีใครสร้างความโดดเด่นหรือแตกต่างให้กับธุรกิจของตัวเองได้ คนนั้นคือผู้ชนะที่จะไปต่อ มาดูในฟากสถิติกันบ้าง อาชีพดีไซเนอร์ในธุรกิจ (โดยเฉพาะธุรกิจสายดิจิทัล) เป็นอาชีพที่มีการเติบโตสูงมากขึ้นเรื่อยๆ อ้างอิงจากรายงาน Design in Tech Report ฉบับปี 2017 ได้ระบุถึงสถิติจากทาง LinkedIn ว่า Design Talents เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในวงการเทค/ดิจิทัล บริษัทชั้นนำอย่าง Facebook, Google และ Amazon มีจำนวน Headcounts ของตำแหน่งที่เกี่ยวกับดีไซน์พุ่งสูงขึ้นถึง 65% ภายในปีที่ผ่านมา และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอีก...
ทำไมการเข้าค่าย 4 วัน ถึงเปลี่ยนแปลงชีวิตในช่วงมากกว่า 4 ปีที่ผ่านมาได้? ค่ายที่เรากำลังจะพูดถึงในบทความนี้คือค่าย Young Webmastet Camp หรือ YWC เป็นค่ายสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย ให้เข้ามารวมกลุ่มกันทำโปรเจกต์เว็บไซต์เป็นเวลา 4 วัน ถึงแม้ชื่อบทความจะเป็น ‘รีวิวค่าย’ แต่เราอยากจะเขียนรีวิวค่ายนี้ในส่วนของ ‘ชีวิตหลังค่าย’ ไม่เน้นในช่วงเวลาที่อยู่ค่าย เหตุผลเพราะ… เพราะบล็อกนี้เขียนขึ้นหลังจากเราจบค่ายมาได้ 5 ปีแล้ว (ไม่ได้แก่ แต่เวลาแค่ผ่านไปไวเกินไป =_=) เหลือความทรงจำอยู่ แต่คงจะลงรายละเอียดได้ไม่ดีพอที่จะเป็นบล็อกสมบูรณ์ เวลาแค่ 4 วันมันสั้นนิดเดียว แต่เวลามากกว่า 4 ปีที่ผ่านมา (ราวๆ 1,500 วัน) ที่เราอยากจะเล่าหลังจากนี้คือชีวิตจริงๆ ที่เกิดขึ้นหลังจบค่าย ถ้าผู้่อ่านเป็นนักศึกษามหาลัยหรือรู้จักเพื่อน/น้องในวัยนั้น บทความนี้น่าจะเป็นหนึ่งในเรื่องราวประกอบการตัดสินใจได้ ถ้าคุณไม่ใช่คนที่เกี่ยวข้องโดยตรง …บทความนี้เองก็ได้เล่าถึงการพัฒนาตัวเองและความเปลี่ยนแปลงในชีวิตเราหลายเรื่อง อยากให้ลองติดตามดูนะคะ ค่าย YWC ให้ประสบการณ์ชีวิตอะไรเราบ้าง เราจะขอเล่าถึง 6 เรื่องดังต่อไปนี้ ค่าย YWC สอนให้เราเอาชนะความผิดหวัง (Learn to Fail) ค่าย YWC สอนให้เรากล้ารับผิดชอบเพิ่มกว่าเดิม (Get out of Comfort Zone) ค่าย YWC ทำให้เราก้าวสู่สายคอนเทนต์ YWC เป็นจุดเริ่มต้นของการทำ Startup ตัวแรก YWC มอบโอกาสการทำงานและการเติบโต YWC คืออีกครอบครัว 1....